ข้อจำกัดและปัญหาที่อาจเกิด ของ วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การรีบเร่งพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อโควิด-19 ที่ระบาดทั่วอาจเพิ่มความเสี่ยงและอัตราความล้มเหลวของการได้วัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล[83][24][257]งานศึกษาหนึ่งพบว่าในระหว่างปี 2006-2015 การได้รับอนุมัติให้ทำการทดลองระยะที่ 1 แล้วผ่านการทดลองระยะที่ 3 อย่างสำเร็จอยู่ที่อัตราร้อยละ 16.2 สำหรับวัคซีน[80]และเซพีก็ได้ระบุว่าอัตราประสบความสำเร็จของวัคซีนแคนดิเดตที่กำลังพัฒนาอยู่ในปี 2020 น่าจะอยู่ที่เพียงร้อยละ 10[24]

ในเดือนเมษายน 2020 รายงานของเซพีระบุว่า "การประสานงานและการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและเป็นสากลระหว่างผู้พัฒนาวัคซีน องค์กรควบคุม องค์กรตั้งนโยบาย ผู้ให้เงินทุน องค์กรสาธารณสุข และรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้วัคซีนแคนดิเดตในระยะสุดท้าย ๆ สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอและแจกจำหน่ายให้แก่เขตติดโรคทั้งหมดได้อย่างยุติธรรม โดยเฉพาะแก่เขตที่ยากจน"[24]แต่ประชากรอาจถึงร้อยละ 10 ก็รู้สึกว่าวัคซีนไม่ปลอดภัยหรือไม่จำเป็น และไม่ยอมรับวัคซีนซึ่งเป็นอันตรายต่อสาธารณสุขของโลกที่ได้ชื่อว่า vaccine hesitancy (ความลังเลกับวัคซีน)[258]และเพิ่มความเสี่ยงว่าโควิดจะเกิดระบาดอีก[259]ในกลางปี 2020 งานสำรวจสองงานประเมินว่าประชากรสหรัฐร้อยละ 67 หรือ 80 จะยอมรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด โดยมีความต่าง ๆ กันมากเหตุระดับการศึกษา การมีงานทำ เชื้อชาติ และภูมิลำเนา[260][261]

ปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ

งานวิจัยเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโดยใช้สัตว์แบบจำลองที่เฉพาะต่อโรคโควิด (เช่น หนูเพาะให้มียีนหน่วยรับ ACE) และใช้สัตว์ทดลองอื่น ๆ และไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ แสดงว่าต้องรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับ 3 เมื่อทดลองกับไวรัสที่ยังไม่ตาย และต้องร่วมมือกันในระดับสากลเพื่อให้มีมาตรฐานรักษาความปลอดภัย[83][24]

การเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อโดยอาศัยภูมิต้านทาน (ADE)

แม้วัคซีนจะมุ่งช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารภูมิต้านทานเพื่อกำจัดเชื้อโรค แต่วัคซีนก็อาจมีผลตรงกันข้ามโดยเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อโดยอาศัยภูมิต้านทาน (antibody-dependent enhancement, ADE) ซึ่งเพิ่มสมรรถภาพของไวรัสในการจับกับเซลล์เป้าหมายในร่างกายแล้วจุดชนวนอาการพายุไซโตไคน์เมื่อติดเชื้ออีกหลังจากได้วัคซีน[83][262]แพลตฟอร์มเทคโนโลยีของวัคซีน (เช่น ใช้เว็กเตอร์เป็นไวรัส, ใช้โปรตีน spike ของไวรัส หรือใช้หน่วยย่อยโปรตีนของไวรัส), ขนาดวัคซีนที่ให้, ระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนซ้ำ ๆ เพราะโอกาสการติดเชื้อโควิดอีก และอายุมาก ล้วนเป็นปัจจัยที่กำหนดความเสี่ยงและความรุนแรงของ ADE[83][262]การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนก็ยังขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ รวมทั้งความแม่นยำของกลไกการทำงานของวัคซีน[83]หรือวิธีการให้ (ฉีดในกล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง ให้ทางปาก ให้ทางจมูก เป็นต้น)[262][263]

ประสิทธิศักย์ (efficacy)

ประสิทธิภาพ (effectiveness) ของวัคซีนขึ้นอยู่กับประสิทธิศักย์ (efficacy) ของวัคซีน[264]ประสิทธิศักย์ที่น้อยกว่าร้อยละ 60 ก็อาจไม่ก่อภูมิคุ้มกันหมู่[22][263]ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เสี่ยงติดโรค เช่น ยีน สุขภาพ (โรคประจำตัว อาหาร การตั้งครรภ์ ไวหรือแพ้อะไรง่าย) ภูมิคุ้มกัน อายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม อาจเป็นปัจจัยปฐมภูมิหรือทุติยภูมิซึ่งมีผลต่อความรุนแรงเมื่อติดโรคและการตอบสนองต่อวัคซีน[263]คนชรา (อายุเกิน 60 ปี) ผู้มีภูมิแพ้ และคนอ้วนเสี่ยงมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอแล้วทำให้วัคซีนไม่มีประสิทธิผล จึงอาจต้องใช้เทคโนโลยีวัคซีนโดยเฉพาะ ๆ สำหรับคนกลุ่มเฉพาะ ๆ หรือต้องให้วัคซีนซ้ำ ๆ เพื่อจำกัดการแพร่เชื้อ[263]อนึ่ง การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอาจเปลี่ยนโครงสร้างที่เป็นเป้าหมายของวัคซีน ทำให้วัคซีนไม่ได้ผล[265][266]ยกตัวอย่างก็คือ มีไวรัสโควิดกลายพันธุ์ (ที่จัดอยู่ใน Cluster 5) ซึ่งแพร่ไปยังตัวมิงค์ในเดนมาร์ก ไม่น่าจะตอบสนองต่อวัคซีนที่กำลังพัฒนากันอยู่[267]

การรับสมัครอาสาสมัครเพื่อทดลอง

ผู้พัฒนาวัคซีนต้องลงทุนแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อหาอาสาสมัครสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะ 2-3 ให้มีจำนวนเพียงพอถ้าไวรัสระบาดไปในอัตราต่าง ๆ กันทั้งข้ามประเทศและในประเทศ[109]ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนมิถุนายน บริษัทผลิตวัคซีนจีนคือไซโนแว็กไบโอเท็กได้ร่วมมือกับมาเลเซีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และบราซิลเพื่อรับอาสาสมัครในการทดลองและเพื่อผลิตวัคซีนให้ได้จำนวนเพียงพอสำหรับการทดลองระยะที่ 3 ในประเทศบราซิลที่โรคได้เร่งระบาดเพิ่มขึ้น[109]เพราะจีนควบคุมการระบาดทั่วของโควิดได้ ผู้พัฒนาวัคซีนจีนจึงต้องร่วมมือกับนานาชาติเพื่อทำงานศึกษาในมนุษย์ระยะปลาย ซึ่งเป็นการแข่งขันหาอาสาสมัครสู้กับผู้ผลิตอื่น ๆ และกับโปรแกรม Solidarity trial ที่องค์การอนามัยโลกเป็นผู้จัด[109]

นอกจากปัญหาการแข่งขันหาอาสาสมัครแล้ว ผู้จัดทำการทดลองอาจเจอกับคนที่ไม่ต้องการได้วัคซีนเพราะเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ที่ค้านกับความเห็นพ้องของนักวิทยาศาสตร์[259]หรือไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์ที่ใช้เพื่อสร้างเทคโนโลยีวัคซีนและสมรรถภาพการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีน[268]

การมีบุคลากรที่ชำนาญในการให้วัคซีนไม่พออาจเป็นอุปสรรคต่อการทดลองทางคลินิกที่ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การรับสมัครอาสาสมัครในเขตชนบทที่มีความหนาแน่นประชากรน้อย อาสาสมัครที่มีอายุ เชื้อชาติ และปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ[109][269]

ค่าใช้จ่าย

วัคซีนต้านโควิดที่มีประสิทธิผลอาจลดความเสียหายทางเศรษฐกิจของโลกเป็นล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และดังนั้น ค่าใช้จ่ายเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกันแล้วก็จะเล็กน้อย[270]ในตอนต้น ๆ ของเหตุการณ์ระบาดทั่ว ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถสร้างวัคซีนสำหรับไวรัสนี้ได้อย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีราคาที่พอซื้อไหว และก็ยังไม่รู้ด้วยว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาวัคซีนเท่าไร[22][25][48]เป็นไปได้ว่าการลงทุนเป็นเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นอาจไม่ได้ผลอะไร[47]

หลังจากสร้างวัคซีนได้แล้ว จะต้องผลิตวัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดสแล้วแจกจ่ายทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2020 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ประเมินว่า การผลิตและการแจกจำหน่ายวัคซีนอาจมีค่าใช้จ่ายถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณแปดแสนล้านบาท)[271]

คณะกรรมาธิการยุโรปจัดให้มีการประชุมทางวิดีโอของผู้นำโลกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 ซึ่งได้สัญญาว่าจะให้เงิน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาวัคซีนไวรัสโคโรนา (เป็นงานเดียวกับขององค์การอนามัยโลก)[272]

จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 บริษัทที่ได้เงินทุนจากโปรแกรมปฏิบัติการความเร็วเหนือแสงของสหรัฐได้ตั้งราคาวัคซีนเบื้องต้นประมาณ 19.5-25 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 610-780 บาท) ต่อโดส (คนหนึ่งปกติต้องใช้ 2 โดส) ซึ่งเป็นราคาประมาณเท่า ๆ กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่[273]ในเดือนธันวาคม 2020 นักการเมืองเบลเยียมผู้หนึ่งได้เปิดเผยราคาที่สหภาพยุโรปตกลงซื้อวัคซีนจากบริษัทต่าง ๆ[274]

ราคาวัคซีนที่สหภาพยุโรปตกลงซื้อจากผู้ผลิต
ผู้ผลิต ราคาต่อโดส[275] บาทโดยประมาณ
แอสตราเซเนกา €1.78 62
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน US$8.50 266
ซาโนฟี่/แกล็กโซสมิธไคลน์ €7.56 265
ไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค €12.00 420
Curevac €10.00 350
มอเดิร์นา US$18.00 564

การแจกจำหน่าย

วัคซีนต่าง ๆ ต้องขนส่งและจัดการต่าง ๆ กันตัวอย่างเช่น วัคซีน tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทคต้องส่งในตู้แข็งพิเศษโดยมีอุณหภูมิระหว่าง -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส[276]ต้องใช้ใน 5 วันหลังละลาย[276]ต้องสั่งอย่างน้อย 975 โดส จึงคงมีแต่ รพ. ใหญ่ ๆ ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือดีที่สามารถให้วัคซีนนี้ได้[277]

ส่วนวัคซีนของมอเดิร์นาต้องเก็บแช่แข็งระหว่าง -25 ถึง -15 องศาเซลเซียส[278]แต่เมื่อแช่แข็งแล้ว ก็สามารถเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง2 ถึง 8 องศาเซลเซียสจนถึง 30 วัน[278]

การไร้ข้อมูลที่เปิดเผยและความไม่เชื่อใจ

การประกาศให้อนุมัติวัคซีน BBIBP-CorV ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ[279]ไม่เหมือนกับวัคซีนที่พัฒนาในประเทศตะวันตกบางประเทศ วัคซีนจีนมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิศักย์น้อยแม้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะระบุว่า ได้ทบทวนงานวิเคราะห์ในระหว่างของบริษัท แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า ได้วิเคราะห์ข้อมูลดิบเองอย่างเป็นอิสระและก็ไม่ชัดเจนว่า บริษัทได้สรุปข้อมูลอย่างไร เพราะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ระบุรายละเอียดการวิเคราะห์ที่สำคัญ เช่น จำนวนคนติดเชื้อและอายุของอาสาสมัคร[279]

นักวิทยาการระบาดชาวจีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกล่าวว่า "ยากที่จะรู้ว่าวัคซีนได้ผลดีขนาดไหน ผมหวังว่ามันคงเป็นจริง"[280]การไม่ทำข้อมูลให้เป็นสาธารณะอาจจำกัดบริษัทจากการแจกจำหน่ายวัคซีนไปยังประเทศบางประเทศ เพราะต้องอาศัยความมั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนนักวิทยาการคนเดียวกันระบุว่า จะโน้มน้าวให้ประเทศอื่น ๆ คล้อยตามจะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นและข้อมูลที่ดีซึ่งสามารถให้ตรวจดูได้ส่วนนักวิทยาไวรัสที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงอีกคนหนึ่งเป็นห่วงว่า ประเทศต่าง ๆ อาจต้องเลือกยอมรับวัคซีนโดยไม่มีการวิเคราะห์ที่เป็นอิสระ หรือเลือกไม่ใช้วัคซีนนี้เลย[280]

วัคซีนจีนอีกอย่างคือ CoronaVac ก็มีปัญหาเช่นเดียวกันในวันที่ 14 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมสาธารณสุขบราซิล (Anvisa) ระบุว่า การให้อนุมัติเพื่อใช้ในประเทศจีนไม่ใช่เรื่องเปิดเผยคือไม่มีข้อมูลว่าใช้กฎเกณฑ์อะไรในการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีนเดือนมิถุนายน 2020[281]

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ CoronaVac § บราซิล

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5552... http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5665... http://www.cloverbiopharma.com/index.php?m=content... http://www.pmlive.com/pharma_news/gsk,_medicago_la... http://www.walvax.com/wosen/28.aspx //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14667748 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14676007 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15655773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15885812 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16453264